สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 27 พฤศจิกายน-3 ธันวาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.838 ล้านไร่ ผลผลิต 26.712 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 425 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 25.026 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.88 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.099 ล้านไร่ ผลผลิต 7.199 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 649 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08
ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67
มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับ   กรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 - 31 มีนาคม 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,302 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,028 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.10
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,149 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,179 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,510 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 30,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,250 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 19,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.65
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 858 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,826 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 846 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,851 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 25 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 640 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,247 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 602 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,049 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,198 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 634 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,039 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 597 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,874 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.20 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,165 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.7617 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) อินเดีย
ปัจจุบัน ราคาข้าวของอินเดียยังคงปรับสูงขึ้น เนื่องจากต่างประเทศมีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น แม้ว่าช่วงนี้อุปทานข้าวในตลาดโลกจะมีปริมาณมากจากผลผลิตฤดูกาลใหม่ที่กำลังออกสู่ตลาด แต่ด้วยราคาข้าวนึ่งของอินเดีย   เมื่อรวมกับภาษีส่งออกร้อยละ 20 แล้ว ยังคงมีราคาถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาข้าวนึ่งจากประเทศอื่น โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ 500 - 507 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (17,381 - 17,624 บาทต่อตัน) สูงขึ้นจาก 493 - 503 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (17,138 - 17,485 บาทต่อตัน) ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ประกอบการส่งออกในรัฐอานธรประเทศให้เหตุผลว่า เนื่องจากราคาข้าวของไทยและเวียดนามปรับสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้ซื้อที่มีกำลังซื้อไม่มากนักต้องเปลี่ยนมาซื้อข้าวจากอินเดีย
นอกจากนี้ สถานการณ์ราคาข้าวบาสมาติในอินเดียได้เริ่มปรับราคาสูงขึ้นเช่นกัน หลังจากที่รัฐบาลตัดสินใจปรับลดราคาส่งออกขั้นต่ำของข้าวบาสมาติลงเหลือ 950 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (33,024 บาทต่อตัน) จาก 1,250 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (43,452 บาทต่อตัน) ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่รัฐพยายามจะฟื้นฟูการส่งออกข้าวบาสมาติ ทำให้มีความต้องการข้าวชนิดนี้เพิ่มขึ้น ประกอบกับเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และมีการประกาศมาตรการห้ามส่งออกข้าวขาว     ที่ไม่ใช่บาสมาติ จึงส่งผลให้ราคาข้าวบาสมาติปรับสูงขึ้น
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.7617 บาท
2) ไทย
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (นายครองศักดิ์ สงรักษา) กล่าวว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งแล้ว (1 พฤศจิกายน 2566 - 30 เมษายน 2567) และจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และคาดการณ์ปรากฏการณ์เอลนีโญ อาจส่งผลให้ในบางพื้นที่ประสบกับสภาวะขาดแคลนน้ำและปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอให้ใช้    ในระยะยาว โดยช่วงฤดูแล้งนี้ได้มีการประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำการเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน จำนวน 924,438 ไร่ ใน 13 จังหวัด 35 อำเภอ 76 ตำบล ซึ่งที่ประชุมคณะอนุกรรมการวางแผนและติดตามการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ได้มีมติเห็นชอบแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง นโยบาย และมาตรการการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2566/67 กำหนดให้มีการวางแผนการบริหารจัดการน้ำแบบยั่งยืน ด้วยการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำทุกกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งควรให้จัดสรรน้ำตามระบบรอบเวร หรือกำหนดวิธีการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อให้มีน้ำเพียงพอ โดยได้มีการวางแผนการจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
1) เพื่อการอุปโภค-บริโภค และการประปา
2) เพื่อการรักษาระบบนิเวศทางน้ำ เช่น การผลักดันน้ำเค็ม การขับไล่น้ำเสีย บรรเทาสาธารณภัย จารีตประเพณีและคมนาคม เป็นต้น
3) เพื่อสำรองน้ำไว้สำหรับการใช้น้ำในช่วงต้นฤดูฝน สำหรับอุปโภค-บริโภคและรักษาระบบนิเวศ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2567
4) เพื่อการเกษตร
5) เพื่อการอุตสาหกรรม
6) เพื่อการพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว และด้านการเกษตร
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2566/67 ตามปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำและความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชได้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ ดังนี้
- แผนการพื้นที่การเพาะปลูกทั้งประเทศ จำนวน 10.66 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวรอบที่ 2 จำนวน 8.13 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 5.80 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 2.33 ล้านไร่) พืชไร่พืชผัก จำนวน 2.53 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.57 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 1.96 ล้านไร่)
- ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด จำนวน 4.90 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวรอบที่ 2 จำนวน 4.20 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 3.03 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 1.17 ล้านไร่) พืชไร่พืชผัก จำนวน 0.70 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.13 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 0.57 ล้านไร่)
- ลุ่มน้ำแม่กลอง 7 จังหวัด จำนวน 1.13 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวรอบที่ 2 จำนวน 0.86 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.84 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 0.02 ล้านไร่) พืชไร่พืชผัก จำนวน 0.27 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 0.17 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 0.10 ล้านไร่)
สำหรับการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร เนื่องจากในบางพื้นที่มีปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำค่อนข้างน้อย  จึงมีความจำเป็นต้องงดการจัดสรรน้ำในการเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2 ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2566/67 ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ เขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง เขื่อนแม่มอก จังหวัดสุโขทัย เขื่อนลำตะคอง และเขื่อนมูลบน จังหวัดนครราชสีมา เขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงขอแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย และควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติดูแลรักษาพืชในช่วงฤดูแล้งที่ถูกต้อง การรักษาความชุ่มชื้นในดิน และลดการเผาตอซัง หรือเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของรัฐ เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร และโครงการ     เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567 เป็นต้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าวรอบที่ 2
ที่มา กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.63 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.79 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.12 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 289.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,046.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 287.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,035.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 11.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 456.00 เซนต์ (6,322.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 467.00 เซนต์ (6,508.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.36 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 186.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.80 ล้านตัน (ร้อยละ 6.45 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.45 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.93 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.39
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.53 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.29 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.29
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.73 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.23
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.19 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.06 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.68
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 273.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,590 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 279.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,820 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.97
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 575.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,160 บาทต่อตัน)  ราคาสูงขึ้นจากตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,960 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.32


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.403 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.507  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.271 ล้านตันของเดือนตุลาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 6.90 และร้อยละ 6.64 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.72 บาท ลดลงจาก กก.ละ 6.23 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.19
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.15 บาท ลดลงจาก กก.ละ 33.48 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.97
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินโดนีเซียจะเพิ่มการจัดสรรน้ำมันปาล์มในภาคการผลิตไบโอดีเซลมากขึ้นในปี 2567 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 1.96 คาดเป็นผลจากมาตรการการเพิ่มสัดส่วนการผสมน้ำมันปาล์มในไบโอดีเซล B35 ที่เริ่มบังคับใช้ในปี 2566 นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2567 อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะส่งออกลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นกับภาคการผลิตที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุเพิ่มขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,747.40 ริงกิตมาเลเซีย (28.51 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,823.65 ริงกิตมาเลเซีย (29.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.99
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 964.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.93 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 973.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.87
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566  มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ดำเนินการประกาศราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร ตามอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามข้อเสนอแนวทางการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยให้ปรับราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวหน้าโรงงาน จากเดิมกิโลกรัมละ 19.00 บาท เป็นกิโลกรัมละ 21.00 บาท และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์หน้าโรงงาน จากเดิมกิโลกรัมละ 20.00 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทั้งนี้ สำหรับราคาจำหน่ายปลีกเห็นควรให้มีการกำกับดูแลที่เหมาะสม และมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับบริโภคภายในประเทศ (ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์)
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - บริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting รายงานข้อมูลว่า ราคาน้ำตาลทราย ดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถผ่านระดับราคา 28 เซนต์ต่อปอนด์อีกครั้งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยตั้งข้อสังเกตว่ามีข่าวที่ผลักดันราคาให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงข่าวเรื่องของสภาพอากาศในบราซิล และข่าวเกี่ยวกับการนำเข้าเข้าน้ำตาลของอียิปต์และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ด้านกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) คาดการณ์ว่า ตลาดน้ำตาลโลกน่าจะมีน้ำตาลโลกส่วนเกิน (Surplus) ที่ 5.03 ล้านตัน ในปี 2566/2567 เทียบกับการขาดดุล (Deficit) ที่ 1.07 ล้านตัน ในปี 2565/2566
           - ราคาน้ำตาลดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้าปรับตัวลดลงตามรายงานของ UNICA ที่แสดงให้เห็นถึงอัตราการเก็บเกี่ยวของบราซิลที่เพิ่มขึ้น แต่ราคาได้เริ่มฟื้นตัวในช่วงระหว่างวัน ท่ามกลางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง และการนำเข้าน้ำตาลของจีนที่เพิ่มขึ้น และกล่าวเสริมว่าข้อจำกัดในการส่งออกน้ำตาลของบราซิลจะทำให้ราคาน้ำตาลไม่ปรับตัวลดลงไปกว่าราคาฐาน เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการรอขนถ่ายน้ำตาลประมาณ 5 ล้านตัน ด้านนักวิเคราะห์ของ Czarnikow คาดการณ์ว่า ราคาน้ำตาลน่าจะทะลุ 30 เซนต์ต่อปอนด์ในปี 2567 แม้ว่าราคาอาจลงไปที่ 20 เซนต์ต่อปอนด์ก่อนก็ตาม เนื่องจากอุปสงค์น้ำตาลที่ลดลง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
           - Czarnikow คาดการณ์ว่า ปี 2566/2567 ในภาคกลาง – ใต้ของประเทศ บราซิลน่าจะหีบอ้อยได้ 644 ล้านตัน ด้าน Canaplan คาดการณ์ว่า ในภาคกลาง – ใต้ของประเทศบราซิลน่าจะหีบอ้อยได้อยู่ที่ 636 ล้านตัน ซึ่งรวมถึงอ้อยจำนวน 21 ล้านตัน ที่ดำเนินการหีบในไตรมาสแรกของปี 2567 ด้านผู้สังเกตการณ์ตลาด กล่าวว่า การประมาณการผลผลิตที่สูงของ Conab สำหรับบราซิล ผลักดันให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.40 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,325  เซนต์ (17.20 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,357.85  เซนต์ (17.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.45
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 444.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.54 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 458.73 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.18
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 52.32 เซนต์ (40.35 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 53.11 เซนต์ (40.71 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.49


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.62 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.69
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.71
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,007.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,003.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 828.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.78 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 830.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.27 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,470.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.12 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,465.20 ดอลลาร์สหรัฐ (51.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.12 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 949.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 946.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,030.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,026.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.46
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.89 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 7.58
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,065  บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,918  บาท คิดเป็นร้อยละ 7.66 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,498 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,382 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 933 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.96 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  65.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.64 คิดเป็นร้อยละ 1.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 61.91 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.26 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.88 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.10 คิดเป็นร้อยละ 1.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคลดลงกว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.27 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.69 คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.28 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคา      ลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.20 คิดเป็นร้อยละ 0.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.40 คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 379 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 372 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 359 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 431 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 407 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 405 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 431 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 414 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 379 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 440 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 465 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.79 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.09 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.65 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 66.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.05 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.61 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจาก
องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.64 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา         
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.01 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.92 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 122.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.71 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.99 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 38.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.80 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 34.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.80 บาท